การนำเสนอ สื่อและเทคโนโลยี ( EBG กำลัง 3 line education...
การประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนรู้โดยการพัฒนาสื่อ / เทคโนโลยี...
กิจกรรมถอดรหัสลับ วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2...
การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณและโค้ดดิ้ง...
ผลการแข่งขัน การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ป.4-ป.6 รางวัล...
ผู้เขียนเชื่อว่าคนที่ทำงานด้านเน็ตเวิร์กมาระยะหนึ่ง มักจะต้องพบกับคำถามยอดนิยมที่ว่าแอพพลิเคชั่นช้าถึงช้ามากเพราะความไม่เสถียรของระบบเน็ตเวิร์ก หรือเพราะปัญหาทางด้านเน็ตเวิร์กทำให้แอพพลิเคชั่นไม่สามารถตอบสนองได้ภายในเวลาที่กำหนดเอาไว้ และบ่อยครั้งที่ต้องใช้เวลาตรวจสอบทราฟฟิกและการทำงานของอุปกรณ์เน็ตเวิร์กหลายชั่วโมงแล้วไม่พบว่ามีเหตุผิดปกติอันใด ทำให้เสียเวลามากมายในการแก้ไขปัญหาเพราะต่างฝ่ายต่างก็มั่นใจว่าปัญหานั้นไม่ได้เกิดจากสิ่งที่ตัวเองดูแลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชั่น ระบบฐานข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ หรือแม้แต่เน็ตเวิร์กเองก็ตามที ดังนั้นวันนี้เราจะมาเรียนรู้ที่จะแยกแยะและจัดการกับปัญหาอย่างหมาะสม
ปัญหาคลาสิกที่มักจะพบบ่อย
หนึ่งในปัญหาที่องค์กรส่วนใหญ่พบเห็นกัยบ่อยๆ ก็คือไม่มีการวางผัง Architecture ขององค์กรเอาไว้ก่อนที่จะตัดสินใจนำระบบใดๆ เข้ามาใช้ในองค์กร ทำให้ไม่มีการเตรียมความพร้อมของระบบ Infrastructure ให้เหมาะสมกับแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ตัดสินใจนำเข้ามาใช้ในองค์กร ทำให้ต้องมีการปะผุตรงนั้นทีตรงนี้ทีเพื่อให้แอพพลิเคชั่นใหม่นั้นสามารถทำงานได้ตามที่คาดหวังเอาไว้ โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นที่ต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบเดิมขององค์กรด้วยแล้ว บางครั้งอาจจะต้องแก้ปัญหาด้วยการลดระดับความปลอดภัยลงด้วยการเปลี่ยนจากการใช้โปรโตคอลที่ปลอดภัยไปเป็นโปรโตคอลที่ไม่ปลอดภัยแทน นั่นก็เพราะว่าผู้บริหารมีความคาดหวังว่าการลงทุนแอพพลิเคชั่นใหม่แล้วจะต้องสามารถใช้ได้ตามที่โฆษณาเอาไว้โดยไม่สนใจว่าคนทำงานจะเจอกับปัญหาอะไรบ้าง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทำไมเวลาเกิดปัญหาขึ้นมาทีมแอพพลิเคชั่นจึงพุ่งประเด็นไปที่ความไม่เสถียรของระบบเน็ตเวิร์ก นั่นก็เพราะเป็นคำตอบที่คลาสิกที่สุดที่ผู้บริหารยอมรับฟังและเพิ่มเงินลงทุนในอุปกรณ์เน็ตเวิร์กพร้อมกับคาดหวังว่าจะได้สิ่งที่ต้องการในที่สุด
อีกหนึ่งปัญหาที่องค์กรขนาดใหญ่พบเจอก็คือพนักงานแต่ละฝ่ายต่างก็มีความชำนาญเฉพาะในงานที่ตนเองดูแลอยู่ ดังนั้นจึงขาดคนที่จะมองภาพรวมของปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาทีละส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน และมักจะพบว่าเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะตรวจสอบส่วนของตัวเองอย่างเร็วๆ ก่อนที่จะโทษว่าเป็นปัญหาของส่วนงานอื่นแล้วปิดเคสของตัวเองทันที และบางครั้งปัญหานั้นก็หายไปเองโดยที่ยังไม่มีใครทำอะไรเลยด้วยซ้ำไป ยิ่งทำให้ยืนยันว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากระบบที่ตนเองดูแลอยู่
ปัญหาเป็นเรื่องขององค์กร
ต้องเข้าใจเขา..เข้าใจเรา
ก่อนอื่นเราก็ควรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจปัญหาของอุปกรณ์เน็ตเวิร์กก่อนว่าสเปกของอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่เราใช้งานอยู่นั้นเป็นอย่างไร มีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรที่สามารถช่วยในการวิเคราะห์ทราฟฟิกและปัญหาประสิทธิภาพของระบบเน็ตเวิร์กอยู่บ้าง หรือแม้แต่เรื่องของ ACL และ security rule ต่างๆ ก็มีส่วนกระทบต่อประสิทธิภาพของระบบเน็ตเวิร์กเช่นกัน ดังนั้นถ้าเรามีความเข้าใจในสิ่งที่ดูแลอยู่ เราก็สามารถพูดได้เต็มปากและสามารถพิสูจน์ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะไม่ได้เกิดจากเน็ตเวิร์ก หรือถ้าใช่ก็สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
หลังจากที่เข้าใจตัวเองแล้วสิ่งต่อไปที่ควรจะทำความเข้าใจก็คือการเข้าใจองค์ประกอบรอบข้าง เพราะบ่อยครั้งที่พบว่าปัญหาประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นนั้นเกิดขึ้นจากตัวแอพพลิเคชั่นเอง หรือบางครั้งก็เกิดจากอินเตอร์เฟซระหว่างแอพพลิเคชั่น หรือแม้แต่ปัญหาจากประสิทธิภาพของเซิร์ฟเวอร์หรือระบบฐานข้อมูลก็มีส่วนทำให้ประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นแย่ตามไปด้วย ดังนั้นถึงแม้ว่าข้อมูลของอุปกรณ์เน็ตเวิร์กอาจจะไม่ได้แสดงว่ามีปัญหา แต่บางครั้งถ้าเรามีความเข้าใจว่าปรกติแอพพลิเคชั่นมีการรับส่งข้อมูลอย่างไร เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นที่ระหว่างจุดใดก็สามารถช่วยแนะนำให้ทีมที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ เช่น หากพบว่าอินเตอร์เฟซระหว่างมิดเดิ้ลแวร์กับแอพพลิเคชั่นที่มีปัญหานั้นมีทราฟฟิกน้อยลงไปหลายเท่าก็อาจจะเป็นไปได้ว่ามีการประมวลผลค้างที่มิดเดิ้ลแวร์และไม่ได้ตอบสนองกลับไปที่แอพพลิเคชั่นไม่ได้ช้าที่เน็ตเวิร์กแต่อย่างใด เป็นต้น
นอกจากปัจจัยภายในแล้ว บ่อยครั้งเราก็จะพบว่าปัจจัยภายนอกหลายๆ อย่างก็มีผลต่อประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่น เช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เราใช้งาน หรือบริการคลาวด์ต่างๆ ที่องค์กรใช้งานอยู่ ซึ่งเมื่อผู้ให้บริการภายนอกเกิดปัญหาขึ้นก็จะทำให้แอพพลิเคชั่นของเรามีปัญหาตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น SLA และช่องทางในการติดต่อของผู้ให้บริการที่เราเลือกใช้บริการจึงเป็นสิ่งที่องค์กรจะต้องให้ความสนใจในตอนที่ตัดสินใจเลือกใช้บริการ เพราะยิ่งมีการระบุอย่างชัดเจนเท่าใด ตอนที่เกิดปัญหาขึ้นก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วเท่านั้น
เงินไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการแก้ไขปัญหา
ปัญหาทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ อยู่ที่ว่าเราจะรู้สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาหรือไม่ องค์กรส่วนใหญ่จะติดภาพว่าเวลาที่มีปัญหาประสิทธิภาพเน็ตเวิร์กก็จะขยายแบนด์วิดธ์หรือเพิ่มอุปกรณ์เน็ตเวิร์กซึ่งก็คือการใช้เงินเพื่อแก้ปัญหานั่นเอง ซึ่งการแก้ปัญหาแบบนี้จะช่วยได้เพียงชั่วคราวและปัญหาเดิมๆ ก็จะกลับมาวนเวียนเกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ เพราะถ้าตราบใดที่ยังคงมีความเชื่อว่าปัญหาเกิดจากแบนด์วิดธ์ของเน็ตเวิร์กไม่เพียงพอ ก็คิดว่าแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว สุดท้ายก็จะไม่ได้มีการกลับไปค้นหาว่าปัญหาที่แท้จริงนั้นเกิดจากอะไร เพราะบางครั้งแค่แก้ไขความต้องการของ user ที่ไม่จำเป็นเพียงเล็กน้อยก็ทำให้แก้ปัญหาได้แล้ว หรือบางครั้งปรับวิธีการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลนิดหน่อยก็สามารถแก้ไขได้ปัญหาได้เช่นกัน หรือแม้แต่แค่ปรับ API ที่ใช้หน่อยนึงก็ช่วยลดปัญหาได้ในระยะยาวแล้ว ซึ่งทุกวิถีทางที่ว่ามาต่างก็ต้องใช้เงินและเวลาในการแก้ไขปัญหา แต่จะช่วยป้องกันปัญหาระยะยาวมากกว่า แล้วสุดท้ายค่อยมาขยายอุปกรณ์เน็ตเวิร์กซึ่งสามารถทำได้ง่ายกว่ามาก
บทสรุป
ปัญหาประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เหมือนกับที่มีคำกล่าวว่า โปรแกรมที่ไม่มีบั๊กนั้นไม่มีอยู่ในโลกนี้ ดังนั้นการเรียนรู้ปัญหาเพื่อหาทางป้องกันให้มีโอกาสเกิดปัญหาน้อยที่สุด รวมถึงการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่างหากที่ทำให้องค์กรของท่านมีชัยเหนือคู่แข่ง ดังนั้นแทนที่จะมองว่าปัญหาเน็ตเวิร์กแก้ไขไม่ได้จึงต้องทำใจยอมรับ หรือต้องลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีมากขึ้น แต่การเข้าใจในระบบที่ตัวเองดูแลอยู่นั้น จะช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์อุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่มีอยู่ได้เต็มประสิทธิภาพนะครับ
ที่มา : นิตยสาร Enterprise ITPro
ผู้แต่ง : สุรชาติ พงศ์สุธนะ
MikroTik ออกแพตซ์อุตช่องโหว่ Zero-day อย่างรวดเร็วหลังการแจ้งเตือนไม่ถึงวัน โดยช่องโหว่นี้ส่งผลกับ OS ของเร้าเตอร์ตั้งแต่เวอร์ชัน 6.29 เป็นต้นไป
ช่องโหว่นี้ทำให้สามารถใช้เครื่องมือแบบพิเศษเชื่อมต่อไปยังพอร์ต Winbox (บริการการบริหารจัดการแบบทางไกลของ MikroTik ปกติแล้วใช้พอร์ต 8291) และเรียกไฟล์ฐานข้อมูลผู้ใช้ ซึ่งผู้โจมตีสามารถนำไปถอดรหัสหาข้อมูลผู้ใช้ต่อได้ แม้จะยังไม่ได้มีการโจมตีเกิดขึ้นมากนักแต่แนะนำผู้ใช้รีบอัปเดตเป็นเวอร์ชัน 6.42.1 และ 6.43rc4 ตามลิ้งก์นี้ https://mikrotik.com/download
ถึงแม้ว่ายังไม่เกิดการโจมตีในวงกว้างแต่ก็ไม่อาจทราบได้เลยว่าเร้าเตอร์ของท่านนั้นตกเป็นเหยื่อไปหรือยัง ดังนั้นทาง MikroTik เองจึงแนะนำให้ผู้ใช้เปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ดูแลและใช้ Winbox เพื่อเปลี่ยนค่าการเชื่อมต่อของตัวเองเป็นพอร์ตอื่น หรือ แก้ไขค่าใน ‘Available form’ เพื่อจำกัดการเชื่อมต่อพอร์ตนี้จาก IP เฉพาะที่อนุญาตเท่านั้นดูรูปประกอบด้านล่าง
ชี้ชัด!!! ความปลอดภัยและการเข้ารหัสของ Wi-Fi เลือกแบบไหนดี
หลายคนคงสับสนไม่น้อยเวลาที่กำหนดค่าการเข้ารหัสที่ตัว Access Point เพราะมีตัวเลือกมากมาย เช่น WEP, WPA, WPA2-TKIP, WPA2-AES หรือ Open ดังนั้นบทความนี้จะชี้ชัดกันเลยว่าการเข้ารหัสแบบไหนที่ปลอดภัยและให้ประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด
การเข้ารหัสเชื่อมต่อ Access Point เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นสามารถเชื่อมต่อเข้ามาในระบบเครือข่ายของเราโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่อย่างนั้นคลื่นไร้สายที่แพร่กระจายออกมาจาก Access Point ของเรา อาจทำให้ผู้ไม่หวังดีเชื่อมต่อเข้ามาที่ Access Point แล้วโจมตีการทำงานระบบเครือข่ายของเราได้โดยง่าย รวมถึงยังสามารถดักจับข้อมูลสำคัญ และเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบผิดกฎหมายแล้วโยนความผิดมาที่เราได้
ดังนั้นการเข้ารหัสจึงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเราเปิดใช้งาน Access Point แต่การเลือกมาตรฐานการเข้ารหัสที่ไม่เหมาะสมก็อาจมีผลกระทบกับการใช้งาน Wi-Fi ของเรา ดังนั้นการทำความเข้าใจกับตัวเลือกต่างๆ ในระดับหนึ่ง ย่อมเป็นสิ่งที่เราควรทำ เพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกค่าที่เหมาะสมได้ด้วยตัวของเราเอง
บทความทั้งหมดคลิกที่นี่ : https://www.ez-admin.com/images/articleNetwork/codeWiFi.pdf
ข้อมูลจาก : https://www.ez-admin.com/index.php/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-network